กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก (THE ADMINISTRATIVE STRATEGY FOR SEMI-WELFARE EDUCATION OF BASIC SCHOOLS IN TAK PROVINCE)

 

กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก (THE ADMINISTRATIVE STRATEGY FOR SEMI-WELFARE EDUCATION OF BASIC SCHOOLS IN TAK PROVINCE)

Article Sidebar

Published: Mar 26, 2019

Keywords:

Administrative Strategy, Semi-welfare Education, กลยุทธ์การบริหารจัดการ, การศึกษากึ่งสงเคราะห์

Main Article Content

สรวิชญ์ เรือนแก้ว (Sorawith Rueankeaw)

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Rajabhat University)

สุนทรี ดวงทิพย์ (Soontaree Doungtipya)

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (Kamphaeng Phet Rajabhat University)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดตาก วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัย 2) ศึกษากลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ 3) พัฒนากลยุทธ์ และ 4) ทดลองใช้และประเมินกลยุทธ์ วิธีการวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์เอกสาร การประชุม เชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การทดลองใช้กลยุทธ์ การสนทนากลุ่ม การใช้แบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1.
สภาพการบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก มีการวางแผนสำหรับจัดการศึกษา การประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุผล การกำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงาน ปัญหาการบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ พบว่าข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่ใช้ประกอบการวางแผนไม่ทันสมัย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ พบว่า มีปัจจัยภายใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านทรัพยากรทุน และด้านทรัพยากรวิทยาการ และปัจจัยภายนอก 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี และด้านสังคม
2.
กลยุทธ์การบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประสบความสำเร็จ พบว่า กลยุทธ์การให้โอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ กลยุทธ์การดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลยุทธ์การบริหารงานโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กลยุทธ์การสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.
การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดการศึกษา กึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์, 3 พันธกิจ, 3 เป้าประสงค์, 3 ประเด็นกลยุทธ์, 7 กลยุทธ์, 16 ตัวชี้วัด และ 25 มาตรการ
4.
การทดลองใช้และผลการประเมินกลยุทธ์ การบริหารการจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดตาก พบว่า โรงเรียนที่ทดลองใช้กลยุทธ์สามารถนำกลยุทธ์ ไปใช้ดำเนินงานได้จริง และรูปแบบของกลยุทธ์ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

สรวิชญ์ เรือนแก้วและสุนทรี ดวงทิพย์ (2560) กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษากึ่งสงเคราะห์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตาก. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 2560 ฉบับที่ 21 หน้าที่ 311

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การรายงานผลการเรียนผ่านโปรแกรม Schoolmis

กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9