ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Article Sidebar
Published: Jul 3, 2017
Keywords:ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ,
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.),
Effectiveness, Management, Non-Formal and Informal Education (NFE)
Main Article Content
พรชัย อรัณยกานนท์ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยทองสุข
พรจิต อรัณยกานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)
เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
(2)
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) จำแนกตามปัจจัยภูมิหลัง และ (3)
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) ประชากรการวิจัย คือ นักศึกษาของ กศน. เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี พ.ศ.2559 จำนวน 496 คน
ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 220 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การหาค่าความถี่ การหาค่าเฉลี่ย (\bar{X}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย
t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1.
ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)โดยภาพรวม
พบว่า อยู่ในระดับจริงมาก (\bar{X} = 3.82, SD = 0.56)
สำหรับผลการพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.76-3.92
2.
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) จำแนกตามสถานภาพด้านเพศโดยภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 สถานภาพด้านอายุ โดยภาพรวม พบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .013.
ผลที่ได้จากการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) พบว่า
ตัวแปรประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านการศึกษาพื้นฐาน
ด้านการศึกษาเพื่ออาชีพการงาน ด้านการศึกษาเพื่อชีวิต
และด้านการศึกษาเพื่อสังคมและชุมชน
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการสถานศึกษา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
พรชัย อรัณยกานนท์ และพรจิต อรัณยกานนท์
ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ปีที่
7 ฉบับที่ 2 หน้า151
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น